วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2552

ปัจจัยที่ส่งเสริมการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่



แผนการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่

ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งเสริมการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคนี้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงได้ ปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้


1) ปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้
ปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ซึ่งถึงแม้ว่าจะไม่สามารถแก้ไขได้ แต่สามารถที่จะเฝ้าระวังและปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการเกิดโรคได้เนื่องจากมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ได้แก่

1.1) อายุ พบว่าอายุที่มากขึ้นหลอดเลือดจะมีการแข็งตัว และเสียความยืดหยุ่น จึงเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจมากขึ้น โดยเฉพาะในเพศชายที่มีอายุมากกว่า 45 ปี และเพศหญิงในวัยหมดประจำเดือนที่ไม่ได้รับฮอร์โมนหรือมีอายุมากกว่า 55 ปี

1.2) เพศ พบว่าในเพศชายมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้มากกว่าเพศหญิงถึง 3 เท่า แต่ในเพศหญิงที่หมดประจำเดือนมีความเสี่ยงในการเกิดเท่าๆกับเพศชาย ซึ่งเชื่อว่าอาจมีความเกี่ยวข้องกับฮอร์โมน และความเสี่ยงนี้จะสูงเท่าๆกันเมื่ออายุประมาณ 65 ปี
1.3) พันธุกรรม พบว่าผู้ที่มีประวัติในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดแดงแข็งตัว โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือเสียชีวิตกะทันหันในอายุที่น้อย จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้มากกว่าคนทั่วไป 2) ปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงได้
การควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้นั้นถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดความรุนแรง การกลับเป็นซ้ำของโรค และการเสียชีวิตอย่างกะทันหัน ปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงได้ มีดังนี้
2.1) การสูบบุหรี่ ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้เกิดโรคนี้ เนื่องจากสานิโคติน และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซค์ในบุหรี่จะทำให้หัวใจทำงานหนักมากขึ้น และมีความต้องการที่จะใช้ออกซิเจนมากขึ้น โดยเมื่อสูดควันบุหรี่เข้าสู่ร่างกาย จะมีผลต่อการลดปริมาณของเลือด และออกซิเจนที่ไปสู่หัวใจ และอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย การที่ปริมาณเลือดและออกซิเจนไปสู่หัวใจลดลง จะทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก และการสูบบุหรี่จะทำให้หลอดเลือดตีบแคบลง เนื่องจากจะทำให้มีการสะสมของไขมันที่ผนังหลอดเลือดด้านในมากขึ้น ทำให้เกิด "หลอดเลือดแข็งตัว" โดยถ้าเกิดที่หลอดเลือดแดงโคโรนารี่แล้ว จะส่งผลให้ปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจลดลง นำไปสู่ภาวะหัวใจขาดเลือดได้ และเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายในที่สุด


2.2) ไขมันหรือโคเลสเตอรอลในเลือดสูง จริง ๆ แล้วโคเลสเตอรอลเป็นสารที่มีความสำคัญ และมีประโยชน์มากต่อร่างกาย แต่หากมีปริมาณมากเกินไป จะทำให้เกิดโทษต่อร่างกายได้ เนื่องจากโคเลสเตอรอลดังกล่าวจะก่อตัวเป็นตะกันมาเกาะที่ผนังหลอดเลือดแดง ซึ่งทำให้เกิดการตีบแคบของหลอดเลือด หลอดเลือดแดงแข็ง ความยืดหยุ่นของหลอดเลือดลดลง ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจไม่ดี และหัวใจต้องทำงานหนักมากขึ้น นำไปสู่ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายได้




2.3) โรคเบาหวาน ในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้นั้น จะทำให้หลอดเลือดแดงและหลอดเลือดฝอยเกิดการแข็งตัว อีกทั้งผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่มักพบความผิดปกติของไขมัน คือ ระดับไตรกลีเซอไรด์สูง ระดับเอช ดี แอล โคเลสเตอรอลซึ่งเป็น “ไขมันตัวดี” ต่ำ และ แอล ดี แอล ซึ่งเป็น “ไขมันตัวร้าย” สูง จึงทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้สูง




2.4) ความดันโลหิตสูง ภาวะความดันโลหิตสูงก่อให้เกิดความเสียหายต่อหัวใจและหลอดเลือด โดยจะทำให้หลอดเลือดบีบตัวแรงขึ้น ส่งผลให้ผนังหลอดเลือดถูกทำลาย มีไขมันมาเกาะที่ผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบตันแคบลง ส่งผลให้หัวใจต้องทำงานหนักมากขึ้นเพื่อบีบตัวให้เลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อของร่างกายให้เพียงพอ





2.5) ความเครียด ผู้ที่มีบุคลิกภาพชนิดเอ จะเป็นผู้ที่มีลักษณะก้าวร้าว ชอบแข่งขัน รีบร้อน มีความอดทนน้อย ใจร้อน โมโหง่าย ร่างกายจะหลั่งสารความทุกข์ออกมา ทำให้หลอดเลือดมีการหดตัว ความดันโลหิตสูง น้ำตาลในเลือดสูง ทำให้การไหลเวียนเลือดไม่เป็นไปตามปกติ หัวใจต้องทำงานหนักมากขึ้น ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้สูง





2.6) โรคอ้วน ความอ้วนแสดงถึงภาวะสุขภาพที่ไม่ดี เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ โดยน้ำหนักตัวที่มากเกินไปจะเพิ่มภาระให้กับหัวใจ ทำให้หัวใจต้องทำงานหนักมากขึ้น และนอกจากนี้พบว่าความอ้วนมีผลทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ และเอช ดี แอล โคเลสเตอรอลต่ำ แต่ แอล ดี แอล โคเลสเตอรอลสูง จึงทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจมาก


2.7) การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และคาเฟอีน ในคนที่ดื่มสุราจัดเป็นประจำจะทำให้เกิดโรคหัวใจได้มากกว่าคนที่ดื่มน้อยกว่า หรือคนที่ไม่ดื่มสุราเลย เนื่องจากแอลกอฮอล์จะทำให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ และยังอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อกล้ามเนื้อหัวใจด้วย โดยพบว่าผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสมมากกว่า 12 ดีกรีเป็นประจำมากกว่า 60 ซีซีต่อวัน จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจมากกว่าผู้ที่ดื่มน้อยกว่าถึง 4 เท่า และผู้ที่ดื่มกาแฟ 2-5 แก้วต่อวัน มีผลต่อการทำงานของหัวใจ และถ้าดื่มมากกว่านี้จะทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้








2.8) การขาดการออกกำลังกาย เนื่องจากการออกกำลังเป็นประจำนั้นจะช่วยให้สมรรถภาพของหัวใจดีขึ้น ลดระดับไขมันในเลือด ลดความดันโลหิต ดังนั้นการขาดการออกกำลังที่สม่ำเสมอจึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้มาก






























































































































































































































ไม่มีความคิดเห็น: