วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2552

การปรับลดปัจจัยเสี่ยงที่ส่งเสริมการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่




แผนการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่

การปรับลดปัจจัยเสี่ยงที่ส่งเสริมการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่
เมื่อคุณมีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวจะทำอย่างไรจึงจะปลอดภัยจากโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่


1) การเลิกสูบบุหรี่ การสูบหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ พบว่าร้อยละ 75 ของผู้ที่สูบบุหรี่ตาย
จากโรคหลอดเลือดหัวใจดังนั้นผู้ที่สูบบุหรี่ควรเลิกสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด
ควรดูแลตนเองให้ได้รับอากาศที่บริสุทธิ์ หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด มีควันบุหรี่มากๆ
เนื่องจากสารนิโคตินในบุหรี่จะทำให้หลอดเลือดตีบแคบลง
และกระตุ้นการทำงานของหัวใจที่มากเกินไป


2) งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ชา และกาแฟ ถึงแม้ว่า จะพบว่าการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในปริมาณน้อยๆจะช่วยให้ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ แต่หากดื่มในปริมาณที่มากและระยะเวลานานจะทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ และมีผลกระทบต่อเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ แลนอกจากนี้ยังพบว่ามีผลทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นด้วย ส่วนเครื่องดื่มประเภทชาและกาแฟ สารที่อยู่เครื่องดื่มประเภทชาและกาแฟ จะทำให้หัวใจเต้นเร็ว หัวใจเต้นผิดจังหวะและทำงานหนักมากขึ้นได้

3) การควบคุมระดับไขมันในเลือด โดยผู้ป่วยจะต้องมีการควบคุมอาหารที่มีโคเลสเตอรอล ได้แก่ งดอาหารจำพวกเครื่องในสัตว์ สมองสัตว์ หมูสามชั้นอาหารทะเลยกเว้นปลาทะเล ไข่แดง เนยแข็ง น้ำมันสัตว์ ในการประกอบอาหารให้หันมาเลือกใช้น้ำมันที่ได้มาจากพืชแทน ได้แก่ น้ำมันจากข้าวโพด น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันมะกอก น้ำมันเม็ดฝ้าย (ยกเว้นน้ำมันปาล์มและน้ำมันมะพร้าว) เป็นต้น ลดอาหารประเภทผัดหรือทอดใช้วิธี การต้มหรือนึ่งแทน


4) การควบคุมระดับความดันโลหิต อาจกล่าวได้ว่าความดันโลหิตสูงเปรียบเสมือน “ฆาตกร” เมื่อมีความดันโลหิตสูง หัวใจต้องทำงานหนักมากขึ้นในการบีบเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายให้เพียงพอ ถ้าความดันโลหิตสูงเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้เกิดหัวใจโตและเป็นผลเสียต่อเส้นเลือด เกิดการบาดเจ็บเนื่องจากแรงอัด โดยทำเกิดแผลถลอกในหลอดเลือด ซึ่งต่อมาจะกลายเป็นแผลที่มีลักษณะแข็งและสูญเสียความยืดหยุ่น หรือ หลอดเลือดแข็งตัวได้ ดังนั้น ผู้ป่วยควรรักษาระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับต่ำกว่า 130/80 มิลลิเมตรปรอท วิธีปฏิบัติเมื่อเกิดความดันโลหิตสูง ได้แก่ การลดอาหารที่มีรสเค็ม หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และ ลดความเครียด

5) การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดตอนเช้าให้อยู่ในระดับ 80–120 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ หรือ ระดับน้ำตาลเฉลี่ยโดยการตรวจหาฮีโมโกลบินเอวันซีต่ำกว่า 7 % ซึ่งระดับน้ำตาลที่สูงหรือควบคุมไม่ได้จะทำให้เกิดการทำลายผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดขาดการยืดหยุ่น และเกิดหลอดเลือดแข็งตัวได้ ผู้ป่วยที่มีโรคเบาหวานร่วมด้วยจึงควรควบคุมอาหารโดยการลดอาหารที่มีรสหวานและปริมาณของคาร์โบไฮเดรต ได้แก่ อาหารจำพวกแป้ง ควรรับประทานอาหารประเภทผักที่มีการใยมากทดแทน และควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ต่ำกว่า 130/85 มิลลิเมตรปรอท

6) การควบคุมน้ำหนักตัว ควรมีการรักษารูปร่างไม่ให้อ้วน โดยควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากเกินไป โดยคิดจากดัชนีมวลกาย คือ

น้ำหนักเป็นกิโลกรัม
( ส่วนสูงเป็นเมตร)2
ค่าปกติของคนไทย ควรอยู่ในช่วง 19.5-25
- ถ้ามีค่ามากกว่า 25-30 กก./ตารางเมตร ถือว่า “น้ำหนักเกิน”
- ถ้าค่ามากกว่า 30 ถือว่าเป็น “โรคอ้วน”


7) การควบคุมความเครียด ความเครียดส่งผลให้เกิดโรคหัวใจหรือการกำเริบของหัวใจได้ ดังนั้น
จึงควรทำจิตใจให้ผ่องใส มีการพักผ่อนที่เพียงพอ หลีกเลี่ยงภาวะเครียดทางด้านจิตใจ โกรธ หงุดหงิด
อารมณ์เสียบ่อยๆ และควรมีการผ่อนคลาย ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับความชอบของ
แต่ละบุคคลเช่น การฝึกการหายใจ การทำสมาธิ การสวดมนต์ การฟังดนตรีเบาๆ การใช้จินตนาการนึกถึง
ภาพเหตุการณ์ที่ประทับใจ การนวด การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น หลีกเลี่ยงการใช้ชีวิตแบบแข่งขันหรือทำอะไรที่รีบร้อน อารมณ์ตึงเครียด ขาดการผักผ่อน ซึ่งจะส่งผลให้ร่างกายมีความเครียดได้



8) การออกกำลังกาย การออกกำลังกายที่ เหมาะสมที่สุด คือ การเดิน อย่าลืมว่าระยะเวลาการฟื้นคืนหายของกล้ามเนื้อหัวใจที่ขาดเลือดใช้เวลา เดือนครึ่งถึง 2 เดือน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการเกิดโรค ท่านจึงจะสามารถทำกิจกรรมหรือทำงานได้ตามปกติหรือเกือบปกติ ถ้าไม่แน่ใจควรปรึกษาแพทย์หรือพยาบาลก่อน


































































ไม่มีความคิดเห็น: