วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2552

แผนการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่
โรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่


1. โรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่ คืออะไร โรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่
หมายถึง โรคที่เกิดจากภาวะเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจมีการตีบหรือตันทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเกิดภาวะขาดเลือดไปเลี้ยง ถ้าเป็นรุนแรงก็จะเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายตามมา
บางคน เรียกว่า
“โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ”
บางคน เรียกว่า
“โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด”
บางคน เรียกว่า “โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย”
เป็นโรคเดียวกันนะค่ะ เพราะมีสาเหตุมาจากหลอดเลือดที่มาเลี้ยงหัวใจ
มีการตีบ ตัน หรือแข็งตัว ทำให้เลือดไปลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอค่ะ


2. ลักษณะของหลอดเลือดแดงโคโรนารี่
เส้นเลือดที่ไ
ปเลี้ยงหัวใจ เรียกว่า เส้นเลือดแดงโคโรนารี่ เป็นหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจ ทำหน้าที่ในการนำเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงหัวใจ มี 3 เส้นไปเลี้ยงหัวใจด้านขวา 1 เส้นและไปเลี้ยงหัวใจด้านซ้าย 2 เส้น โดยเส้นเลือดแดงโคโรนารี่ด้านขวา จะเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจด้านขวา และกล้ามเนื้อหัวใจด้านซ้ายส่วนล่าง ส่วนเส้นเลือดแดงโคโรนารี่ด้านซ้าย จะเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจด้านซ้ายที่เหลือทั้งหมด ซึ่งจะแตกออกเป็น 2 แขนง คือ แขนงที่มาด้านหน้า และแขนงที่อ้อมไปด้านหลัง



3. อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค
สาเหตุที่พบบ่อยที่สุด คือ การตีบ ตัน หรือแข็ง ของหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจที่เรียกว่า อะเทอโรสเคอโรซีส เกิดจากการมีไขมันมาพอกอยู่ที่ผนังหลอดเลือดด้านในซึ่งจะค่อยๆเริ่มก่อตัวขึ้น ทำให้รูของหลอดเลือดตีบแคบลงจนอุดตัน และแสดงอาการของการขาดเลือดมาเลี้ยงในที่สุด
4. การอุดตันของหลอดเลือดแดงมีผลกับหัวใจอย่างไร



หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจ เปรียบได้เหมือนท่อน้ำ ประปา เมื่อตะกรันมาเกาะ จะทำให้มีการอุดตัน เมื่อมี การสะสมมากขึ้นๆ การไหลของน้ำในท่อก็จะลดลง เช่นเดียวกับหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจ เมื่อมีไขมัน มาเกาะตัวในหลอดเลือดมากขึ้นๆ เรื่อยๆ เลือดที่จะไป เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจก็ลดลง เมื่อมีการอุดตันบริเวณไหน กล้ามเนื้อหัวใจบริเวณนั้นก็ได้รับเลือดลดลง เกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขเมื่อเวลาผ่านไป ก็กลายเป็น “กล้ามเนื้อหัวใจตาย” ได้

5.อาการ และอาการแสดงของโรคเป็นอย่างไร
ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมาพบแพทย์ด้วย อาการเจ็บหน้าอก โดยจะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกตรงกลางร้าวไปไหล่ซ้ายและแขนซ้าย บางรายมีปวดร้าวขึ้นไปตามคอ อาการเจ็บหน้าอกจะเป็นมากขึ้นเวลาออกแรง เมื่อนั่งพักจะดีขึ้น ในรายที่มีเส้นเลือดหัวใจตีบมากจนตัน จะทำให้มีการขาดเลือดอย่างรุนแรงของกล้ามเนื้อหัวใจ จนเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายในที่สุด ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกรุนแรง กระสับกระส่าย เหงื่อออก ตัวเย็น ถ้านำส่งโรงพยาบาลไม่ทันก็อาจเสียชีวิตได้



6.แนวทางการรักษาโรคนี้มีอะไรบ้าง
ปัจจุบันมีการรักษาหลายวิธี ดังนี้


1) การรักษาโดยใช้ยา เป็นวิธีการรักษาหลักใน รายที่เป็นไม่มาก หรือช่วยลดอาการแน่นหน้าอกหรือเหนื่อยหอบ อาจใช้เป็นวิธีการรักษาเดี่ยวๆ หรือใช้ร่วมกับการรักษาด้วยวิธีอื่น กลุ่มยาที่ใช้ในการรักษาโรคนี้มีหลายกลุ่ม ที่สำคัญได้แก่ ยาขยายหลอดเลือด ยาลดความดัน ยาละลายลิ่มเลือด ยาต้านการเกาะกลุ่มของเกร็ดเลือด และยาลดไขมัน ซึ่งจะกล่าวโดยละเอียดในเรื่อง “ยาที่ใช้ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ”



2) การรักษาโดยการสวนหัวใจทำบอลลูนขยายเส้นเลือด และการใส่โครงลวดตาข่ายเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่ ที่พบว่าสามารถลดอัตราการตาย และลดอัตราการเกิดโรคซ้ำ ได้ดีโดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากหัวใจ






3) รักษาโดยการผ่าตัดต่อเส้นเลือดหัวใจทำทางเบี่ยงหัวใจ วิธีนี้นิยมใช้มาก
ในปัจจุบัน เนื่องจากพบว่าผู้ป่วยร้อยละ 98 สามารถกลับมาใช้ชีวิต
ได้อย่างปกติโดยไม่มีอาการเจ็บหน้าอก












THANK YOU


















































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































1 ความคิดเห็น:

การดูแลต่อเนื่อง กล่าวว่า...

รูปชัดเจนดี เนื้อหาละเอียด เข้าใจง่าย แต่ตัวหนังสือเล็กไปนิดนึง พี่นุช