วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2552

การจัดการกับอาการเจ็บหน้าอก







การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่
การจัดการกับอาการเจ็บหน้าอก

1. อาการเจ็บหน้าอกเกี่ยวข้องกับโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่อย่างไร
อาการเจ็บหน้าอก เป็นอาการแสดงถึงภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง สาเหตุเกิดจากการตีบตันของหลอดเลือดที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ควรได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็ว เพื่อให้เลือดสามารถไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้เพียงพอ และลดการขาดเลือดของกล้ามเนื้อหัวใจ
2. ทำไมต้องรีบไข หรือจัดการกับอาการเจ็บหน้าอก ถ้าปล่อยให้อาการเจ็บหน้าอกดำเนินไปเรื่อยๆ จะส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหัวใจ และเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายในที่สุด


3. อาการเจ็บหน้าอกในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ มีลักษณะอย่างไร
โดยทั่วไปแล้วลักษณะอาการเจ็บหน้าอกในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค ดังต่อไปนี้
- อาการเจ็บหน้าอกชนิดคงที่ ส่วนใหญ่อาการเจ็บหน้าอกมักจะไม่รุนแรง เป็นเพียงชั่วขณะและมักเกิดในขณะที่ทำกิจกรรม
- เจ็บหน้าอกชนิดไม่คงที่ อาการเจ็บหน้าอกชนิดนี้มีความรุนแรงมากกว่าชนิดคงที่ โดยทั่วไปแล้วมักมีอาการเจ็บหน้าอกรุนแรงปานกลางเกิดเป็นพักๆ แต่เป็นถี่มากขึ้นเกิดขึ้นทั้งขณะพักและมีกิจกรรม
- อาการเจ็บหน้าอกแบบกล้ามเนื้อหัวใจตาย อาการเจ็บหน้าอกมักเป็นนานมากกว่า 30 นาที เนื่องจากมีการตีบตันของหลอดเลือดแบบสมบูรณ์ หรืออาจบอกได้ว่าตีบตัน 100% อาการเจ็บหน้าอกชนิดนี้มักมีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น เหงื่อแตก หน้ามืด เป็นลม คลื่นไส้ อาเจียน เหนื่อย ใจสั่น เป็นต้น
อย่าลืม!!! สังเกตว่า ถ้าอาการเจ็บหน้าอกที่มีสาเหตุจากหลอดเลือดหัวใจตีบแคบลง และทำให้หัวใจขาดเลือดเพียงชั่วขณะ ผู้ป่วยมักมีอาการเจ็บหน้าอกไม่นาน ซึ่งส่วนใหญ่จะพบว่าเจ็บหน้าอกประมาณ 5-15 นาที แล้วอาการเจ็บหน้าอกจะดีขึ้นถ้าได้พักหรืออมยาใต้ลิ้น



ลักษณะอาการเจ็บหน้าอก
- ระยะเวลาเจ็บหน้าอกจะนานมากกว่า 30 นาที หรือบางทีเป็นชั่วโมง
- ลักษณะการเจ็บหน้าอกจะคล้ายมีของหนักมาทับ ถูกบีบรัด รู้สึกหายใจไม่ออก
- ตำแหน่งที่เจ็บ อาจเป็นที่หน้าอกด้านซ้าย หรือร้าวไม่ยัง อวัยวะอื่น ได้แก่ บริเวณไหล่ คอ กราม ฟันและแขน
- อาการเจ็บมักไม่สัมพันธ์กับการออกกำลัง อยู่เฉย ๆ ก็อาจเกิด เจ็บหน้าอกได้
- อาจมีอาการอื่นร่วมด้วยได้แก่หายใจหอบ เหนื่อย มีเหงื่อออก คลื่นไส้อาเจียน เป็นลม หมดแรงหัวใจเต้นเร็วหรือเต้น ผิดจังหวะ
- สำหรับผู้สูงอายุอาการที่เกิดร่วมกับอาการเจ็บหน้าอก ได้แก่ อาการหายใจลำบาก คลื่นไส้อาเจียน เวียนศีรษะ ความดันโลหิตต่ำ เหงื่อออกมากสับสนหมดสติอ่อนเพลีย เหนื่อยหอบ หัวใจเต้นแรงเร็ว ปอดบวมน้ำหัวใจล้มเหลว





วิธีการจัดการกับอาการเจ็บหน้าอกเมื่อท่านมีอาการเจ็บหน้าอกควรทำอย่างไร
นั่งพักหรือนอนพัก
- อมยาใต้ลิ้น ผู้ที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายควรพกยาอมใต้ลิ้นติดตัวไว้เสมออย่างน้อย 3-5 เม็ด เมื่อมีอาการเจ็บหน้าอกให้อมยาใต้ลิ้นทันที 1 เม็ดและอมซ้ำได้อีก 2 เม็ดครั้งละ 1 เม็ดโดยห่างกัน 5 นาที แต่ถ้าอาการไม่ทุเลาลง ควรรีบพบแพทย์
- ในขณะที่อมยาควรนั่งลงหรือนอนพัก เพราะยาจะทำให้หลอดเลือดมีการขยายตัวอาจจะทำให้มีอาการหน้ามืดเป็นลมได้
- ในขณะอมยา ควรมีการสังเกตยาที่มีคุณภาพจะรู้สึกซ่าลิ้นไม่ควรเก็บยานานเกิน 2 เดือนและควรเก็บในขวดสีน้ำตาลไม่ให้ถูกแสงแดด
- ทำจิตใจให้สบาย คลายเครียด ไม่โกรธ ไม่กังวล


วิธีการใช้ยาเพื่อลดอาการเจ็บแน่นหน้าอก
ยาที่นิยมใช้ คือ ไอซอดิล (Isordil) ยานี้จะมีผลขยายหลอดเลือดดำทั่วร่างกายและหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีโดยช่วยลดอาการเจ็บหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้
คำแนะนำในขณะใช้ยา
ยาอมใต้ลิ้น
- จะใช้ในกรณีที่มีอาการเจ็บแน่นหน้าอกยาจะออกฤทธิ์ลดอาการเจ็บหน้าอกได้เร็วโดยการอมยาใต้ลิ้น ครั้งละ 1 ม็ดหากภายใน 5 นาทีอาการไม่ดีขึ้นอมซ้ำได้ครั้งละ 1 เม็ดกรณีอมยาติดต่อกันเกิน 3 เม็ดแล้วอาการไม่ดีขึ้นควรรีบไปโรงพยาบาล
- ขณะอมยาควรนั่งพักหรือนอนพักเนื่องจากยามีฤทธิ์ในการขยายหลอดเลือดอาจทำให้ความดันโลหิตต่ำได้ เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด คลื่นไส้ อาเจียนหรือปวดศีรษะได้
- วิธีการเก็บรักษายา ควรเก็บในภาชนะที่ทึบแสงเนื่องจากแสงสว่างและความชื้นจะส่งผลให้ยาเสื่อมคุณภาพได้
- ถ้าอมยาแล้วไม่ซ่าเหมือนเดิมไม่ควรใช้ยานั้นอีกเนื่องจากยาเสื่อมคุณภาพ
- รพกพายาอมใต้ลิ้นติดตัวไว้ตลอดเวลา ประมาณ 3-5 เม็ด























































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่
การจัดการกับอากการเจ็บหน้าอก
1. อาการเจ็บหน้าอกเกี่ยวข้องกับโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่อย่างไร
อาการเจ็บหน้าอก เป็นอาการแสดงถึงภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง สาเหตุเกิดจากการตีบตันของหลอดเลือดที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ควรได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็ว เพื่อให้เลือดสามารถไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้เพียงพอ และลดการขาดเลือดของกล้ามเนื้อหัวใจ
2. ทำไมต้องรีบไข หรือจัดการกับอาการเจ็บหน้าอก
ถ้าปล่อยให้อาการเจ็บหน้าอกดำเนินไปเรื่อยๆ จะส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหัวใจ และเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายในที่สุด
3. อาการเจ็บหน้าอกในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ มีลักษณะอย่างไร
โดยทั่วไปแล้วลักษณะอาการเจ็บหน้าอกในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค ดังต่อไปนี้
- อาการเจ็บหน้าอกชนิดคงที่ ส่วนใหญ่อาการเจ็บหน้าอกมักจะไม่รุนแรง เป็นเพียงชั่วขณะและมักเกิดในขณะที่ทำกิจกรรม
- อาการเจ็บหน้าอกชนิดไม่คงที่ อาการเจ็บหน้าอกชนิดนี้มีความรุนแรงมากกว่าชนิดคงที่ โดยทั่วไปแล้วมักมีอาการเจ็บหน้าอกรุนแรงปานกลางเกิดเป็นพักๆ แต่เป็นถี่มากขึ้นเกิดขึ้นทั้งขณะพักและมีกิจกรรม
- อาการเจ็บหน้าอกแบบกล้ามเนื้อหัวใจตาย อาการเจ็บหน้าอกมักเป็นนานมากกว่า 30 นาที เนื่องจากมีการตีบตันของหลอดเลือดแบบสมบูรณ์ หรืออาจบอกได้ว่าตีบตัน 100% อาการเจ็บหน้าอกชนิดนี้มักมีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น เหงื่อแตก หน้ามืด เป็นลม คลื่นไส้ อาเจียน เหนื่อย ใจสั่น เป็นต้น
อย่าลืม!!! สังเกตว่า ถ้าอาการเจ็บหน้าอกที่มีสาเหตุจากหลอดเลือดหัวใจตีบแคบลง และทำให้หัวใจขาดเลือดเพียงชั่วขณะ ผู้ป่วยมักมีอาการเจ็บหน้าอกไม่นาน ซึ่งส่วนใหญ่จะพบว่าเจ็บหน้าอกประมาณ 5-15 นาที แล้วอาการเจ็บหน้าอกจะดีขึ้นถ้าได้พักหรืออมยาใต้ลิ้น
ลักษณะอาการเจ็บหน้าอก
- ระยะเวลาเจ็บหน้าอกจะนานมากกว่า 30 นาที หรือบางทีเป็นชั่วโมง
- ลักษณะการเจ็บหน้าอกจะคล้ายมีของหนักมาทับ ถูกบีบรัด รู้สึกหายใจไม่ออก
- ตำแหน่งที่เจ็บ อาจเป็นที่หน้าอกด้านซ้าย หรือร้าวไม่ยัง อวัยวะอื่น ได้แก่ บริเวณไหล่ คอ กราม ฟันและแขน
- อาการเจ็บมักไม่สัมพันธ์กับการออกกำลัง อยู่เฉย ๆ ก็อาจเกิด เจ็บหน้าอกได้
- อาจมีอาการอื่นร่วมด้วยได้แก่หายใจหอบ เหนื่อย มีเหงื่อออก คลื่นไส้อาเจียน เป็นลม หมดแรงหัวใจเต้นเร็วหรือเต้น ผิดจังหวะ












































































































































































































































































































































































































































































































































- สำหรับผู้สูงอายุอาการที่เกิดร่วมกับอาการเจ็บหน้าอก ได้แก่ อาการหายใจลำบาก คลื่นไส้อาเจียน เวียนศีรษะ ความดันโลหิตต่ำ เหงื่อออกมากสับสนหมดสติอ่อนเพลีย เหนื่อยหอบ หัวใจเต้นแรงเร็ว ปอดบวมน้ำหัวใจล้มเหลว
วิธีการจัดการกับอาการเจ็บหน้าอกเมื่อท่านมีอาการเจ็บหน้าอกควรทำอย่างไร
นั่งพักหรือนอนพัก
- อมยาใต้ลิ้น ผู้ที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายควรพกยาอมใต้ลิ้นติดตัวไว้เสมออย่างน้อย 3-5 เม็ด เมื่อมีอาการเจ็บหน้าอกให้อมยาใต้ลิ้นทันที 1 เม็ดและอมซ้ำได้อีก 2 เม็ดครั้งละ 1 เม็ดโดยห่างกัน 5 นาที แต่ถ้าอาการไม่ทุเลาลง ควรรีบพบแพทย์
- ในขณะที่อมยาควรนั่งลงหรือนอนพัก เพราะยาจะทำให้หลอดเลือดมีการขยายตัวอาจจะทำให้มีอาการหน้ามืดเป็นลมได้
- ในขณะอมยา ควรมีการสังเกตยาที่มีคุณภาพจะรู้สึกซ่าลิ้นไม่ควรเก็บยานานเกิน 2 เดือนและควรเก็บในขวดสีน้ำตาลไม่ให้ถูกแสงแดด
- ทำจิตใจให้สบาย คลายเครียด ไม่โกรธ ไม่กังวล
วิธีการใช้ยาเพื่อลดอาการเจ็บแน่นหน้าอก
ยาที่นิยมใช้ คือ ไอซอดิล (Isordil) ยานี้จะมีผลขยายหลอดเลือดดำทั่วร่างกายและหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีโดยช่วยลดอาการเจ็บหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้
คำแนะนำในขณะใช้ยา
ยาอมใต้ลิ้น
- จะใช้ในกรณีที่มีอาการเจ็บแน่นหน้าอกยาจะออกฤทธิ์ลดอาการเจ็บหน้าอกได้เร็วโดยการอมยาใต้ลิ้น ครั้งละ 1 ม็ดหากภายใน 5 นาทีอาการไม่ดีขึ้นอมซ้ำได้ครั้งละ 1 เม็ดกรณีอมยาติดต่อกันเกิน 3 เม็ดแล้วอาการไม่ดีขึ้นควรรีบไปโรงพยาบาล
- ขณะอมยาควรนั่งพักหรือนอนพักเนื่องจากยามีฤทธิ์ในการขยายหลอดเลือดอาจทำให้ความดันโลหิตต่ำได้ เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด คลื่นไส้ อาเจียนหรือปวดศีรษะได้
- วิธีการเก็บรักษายา ควรเก็บในภาชนะที่ทึบแสงเนื่องจากแสงสว่างและความชื้นจะส่งผลให้ยาเสื่อมคุณภาพได้
- ถ้าอมยาแล้วไม่ซ่าเหมือนเดิมไม่ควรใช้ยานั้นอีกเนื่องจากยาเสื่อมคุณภาพ
- ควรพกพายาอมใต้ลิ้นติดตัวไว้ตลอดเวลา ประมาณ 3-5 เม็ด



















































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































การปรับลดปัจจัยเสี่ยงที่ส่งเสริมการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่




แผนการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่

การปรับลดปัจจัยเสี่ยงที่ส่งเสริมการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่
เมื่อคุณมีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวจะทำอย่างไรจึงจะปลอดภัยจากโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่


1) การเลิกสูบบุหรี่ การสูบหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ พบว่าร้อยละ 75 ของผู้ที่สูบบุหรี่ตาย
จากโรคหลอดเลือดหัวใจดังนั้นผู้ที่สูบบุหรี่ควรเลิกสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด
ควรดูแลตนเองให้ได้รับอากาศที่บริสุทธิ์ หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด มีควันบุหรี่มากๆ
เนื่องจากสารนิโคตินในบุหรี่จะทำให้หลอดเลือดตีบแคบลง
และกระตุ้นการทำงานของหัวใจที่มากเกินไป


2) งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ชา และกาแฟ ถึงแม้ว่า จะพบว่าการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในปริมาณน้อยๆจะช่วยให้ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ แต่หากดื่มในปริมาณที่มากและระยะเวลานานจะทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ และมีผลกระทบต่อเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ แลนอกจากนี้ยังพบว่ามีผลทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นด้วย ส่วนเครื่องดื่มประเภทชาและกาแฟ สารที่อยู่เครื่องดื่มประเภทชาและกาแฟ จะทำให้หัวใจเต้นเร็ว หัวใจเต้นผิดจังหวะและทำงานหนักมากขึ้นได้

3) การควบคุมระดับไขมันในเลือด โดยผู้ป่วยจะต้องมีการควบคุมอาหารที่มีโคเลสเตอรอล ได้แก่ งดอาหารจำพวกเครื่องในสัตว์ สมองสัตว์ หมูสามชั้นอาหารทะเลยกเว้นปลาทะเล ไข่แดง เนยแข็ง น้ำมันสัตว์ ในการประกอบอาหารให้หันมาเลือกใช้น้ำมันที่ได้มาจากพืชแทน ได้แก่ น้ำมันจากข้าวโพด น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันมะกอก น้ำมันเม็ดฝ้าย (ยกเว้นน้ำมันปาล์มและน้ำมันมะพร้าว) เป็นต้น ลดอาหารประเภทผัดหรือทอดใช้วิธี การต้มหรือนึ่งแทน


4) การควบคุมระดับความดันโลหิต อาจกล่าวได้ว่าความดันโลหิตสูงเปรียบเสมือน “ฆาตกร” เมื่อมีความดันโลหิตสูง หัวใจต้องทำงานหนักมากขึ้นในการบีบเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายให้เพียงพอ ถ้าความดันโลหิตสูงเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้เกิดหัวใจโตและเป็นผลเสียต่อเส้นเลือด เกิดการบาดเจ็บเนื่องจากแรงอัด โดยทำเกิดแผลถลอกในหลอดเลือด ซึ่งต่อมาจะกลายเป็นแผลที่มีลักษณะแข็งและสูญเสียความยืดหยุ่น หรือ หลอดเลือดแข็งตัวได้ ดังนั้น ผู้ป่วยควรรักษาระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับต่ำกว่า 130/80 มิลลิเมตรปรอท วิธีปฏิบัติเมื่อเกิดความดันโลหิตสูง ได้แก่ การลดอาหารที่มีรสเค็ม หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และ ลดความเครียด

5) การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดตอนเช้าให้อยู่ในระดับ 80–120 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ หรือ ระดับน้ำตาลเฉลี่ยโดยการตรวจหาฮีโมโกลบินเอวันซีต่ำกว่า 7 % ซึ่งระดับน้ำตาลที่สูงหรือควบคุมไม่ได้จะทำให้เกิดการทำลายผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดขาดการยืดหยุ่น และเกิดหลอดเลือดแข็งตัวได้ ผู้ป่วยที่มีโรคเบาหวานร่วมด้วยจึงควรควบคุมอาหารโดยการลดอาหารที่มีรสหวานและปริมาณของคาร์โบไฮเดรต ได้แก่ อาหารจำพวกแป้ง ควรรับประทานอาหารประเภทผักที่มีการใยมากทดแทน และควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ต่ำกว่า 130/85 มิลลิเมตรปรอท

6) การควบคุมน้ำหนักตัว ควรมีการรักษารูปร่างไม่ให้อ้วน โดยควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากเกินไป โดยคิดจากดัชนีมวลกาย คือ

น้ำหนักเป็นกิโลกรัม
( ส่วนสูงเป็นเมตร)2
ค่าปกติของคนไทย ควรอยู่ในช่วง 19.5-25
- ถ้ามีค่ามากกว่า 25-30 กก./ตารางเมตร ถือว่า “น้ำหนักเกิน”
- ถ้าค่ามากกว่า 30 ถือว่าเป็น “โรคอ้วน”


7) การควบคุมความเครียด ความเครียดส่งผลให้เกิดโรคหัวใจหรือการกำเริบของหัวใจได้ ดังนั้น
จึงควรทำจิตใจให้ผ่องใส มีการพักผ่อนที่เพียงพอ หลีกเลี่ยงภาวะเครียดทางด้านจิตใจ โกรธ หงุดหงิด
อารมณ์เสียบ่อยๆ และควรมีการผ่อนคลาย ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับความชอบของ
แต่ละบุคคลเช่น การฝึกการหายใจ การทำสมาธิ การสวดมนต์ การฟังดนตรีเบาๆ การใช้จินตนาการนึกถึง
ภาพเหตุการณ์ที่ประทับใจ การนวด การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น หลีกเลี่ยงการใช้ชีวิตแบบแข่งขันหรือทำอะไรที่รีบร้อน อารมณ์ตึงเครียด ขาดการผักผ่อน ซึ่งจะส่งผลให้ร่างกายมีความเครียดได้



8) การออกกำลังกาย การออกกำลังกายที่ เหมาะสมที่สุด คือ การเดิน อย่าลืมว่าระยะเวลาการฟื้นคืนหายของกล้ามเนื้อหัวใจที่ขาดเลือดใช้เวลา เดือนครึ่งถึง 2 เดือน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการเกิดโรค ท่านจึงจะสามารถทำกิจกรรมหรือทำงานได้ตามปกติหรือเกือบปกติ ถ้าไม่แน่ใจควรปรึกษาแพทย์หรือพยาบาลก่อน


































































ปัจจัยที่ส่งเสริมการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่



แผนการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่

ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งเสริมการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคนี้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงได้ ปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้


1) ปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้
ปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ซึ่งถึงแม้ว่าจะไม่สามารถแก้ไขได้ แต่สามารถที่จะเฝ้าระวังและปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการเกิดโรคได้เนื่องจากมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ได้แก่

1.1) อายุ พบว่าอายุที่มากขึ้นหลอดเลือดจะมีการแข็งตัว และเสียความยืดหยุ่น จึงเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจมากขึ้น โดยเฉพาะในเพศชายที่มีอายุมากกว่า 45 ปี และเพศหญิงในวัยหมดประจำเดือนที่ไม่ได้รับฮอร์โมนหรือมีอายุมากกว่า 55 ปี

1.2) เพศ พบว่าในเพศชายมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้มากกว่าเพศหญิงถึง 3 เท่า แต่ในเพศหญิงที่หมดประจำเดือนมีความเสี่ยงในการเกิดเท่าๆกับเพศชาย ซึ่งเชื่อว่าอาจมีความเกี่ยวข้องกับฮอร์โมน และความเสี่ยงนี้จะสูงเท่าๆกันเมื่ออายุประมาณ 65 ปี
1.3) พันธุกรรม พบว่าผู้ที่มีประวัติในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดแดงแข็งตัว โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือเสียชีวิตกะทันหันในอายุที่น้อย จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้มากกว่าคนทั่วไป 2) ปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงได้
การควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้นั้นถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดความรุนแรง การกลับเป็นซ้ำของโรค และการเสียชีวิตอย่างกะทันหัน ปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงได้ มีดังนี้
2.1) การสูบบุหรี่ ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้เกิดโรคนี้ เนื่องจากสานิโคติน และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซค์ในบุหรี่จะทำให้หัวใจทำงานหนักมากขึ้น และมีความต้องการที่จะใช้ออกซิเจนมากขึ้น โดยเมื่อสูดควันบุหรี่เข้าสู่ร่างกาย จะมีผลต่อการลดปริมาณของเลือด และออกซิเจนที่ไปสู่หัวใจ และอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย การที่ปริมาณเลือดและออกซิเจนไปสู่หัวใจลดลง จะทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก และการสูบบุหรี่จะทำให้หลอดเลือดตีบแคบลง เนื่องจากจะทำให้มีการสะสมของไขมันที่ผนังหลอดเลือดด้านในมากขึ้น ทำให้เกิด "หลอดเลือดแข็งตัว" โดยถ้าเกิดที่หลอดเลือดแดงโคโรนารี่แล้ว จะส่งผลให้ปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจลดลง นำไปสู่ภาวะหัวใจขาดเลือดได้ และเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายในที่สุด


2.2) ไขมันหรือโคเลสเตอรอลในเลือดสูง จริง ๆ แล้วโคเลสเตอรอลเป็นสารที่มีความสำคัญ และมีประโยชน์มากต่อร่างกาย แต่หากมีปริมาณมากเกินไป จะทำให้เกิดโทษต่อร่างกายได้ เนื่องจากโคเลสเตอรอลดังกล่าวจะก่อตัวเป็นตะกันมาเกาะที่ผนังหลอดเลือดแดง ซึ่งทำให้เกิดการตีบแคบของหลอดเลือด หลอดเลือดแดงแข็ง ความยืดหยุ่นของหลอดเลือดลดลง ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจไม่ดี และหัวใจต้องทำงานหนักมากขึ้น นำไปสู่ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายได้




2.3) โรคเบาหวาน ในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้นั้น จะทำให้หลอดเลือดแดงและหลอดเลือดฝอยเกิดการแข็งตัว อีกทั้งผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่มักพบความผิดปกติของไขมัน คือ ระดับไตรกลีเซอไรด์สูง ระดับเอช ดี แอล โคเลสเตอรอลซึ่งเป็น “ไขมันตัวดี” ต่ำ และ แอล ดี แอล ซึ่งเป็น “ไขมันตัวร้าย” สูง จึงทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้สูง




2.4) ความดันโลหิตสูง ภาวะความดันโลหิตสูงก่อให้เกิดความเสียหายต่อหัวใจและหลอดเลือด โดยจะทำให้หลอดเลือดบีบตัวแรงขึ้น ส่งผลให้ผนังหลอดเลือดถูกทำลาย มีไขมันมาเกาะที่ผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบตันแคบลง ส่งผลให้หัวใจต้องทำงานหนักมากขึ้นเพื่อบีบตัวให้เลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อของร่างกายให้เพียงพอ





2.5) ความเครียด ผู้ที่มีบุคลิกภาพชนิดเอ จะเป็นผู้ที่มีลักษณะก้าวร้าว ชอบแข่งขัน รีบร้อน มีความอดทนน้อย ใจร้อน โมโหง่าย ร่างกายจะหลั่งสารความทุกข์ออกมา ทำให้หลอดเลือดมีการหดตัว ความดันโลหิตสูง น้ำตาลในเลือดสูง ทำให้การไหลเวียนเลือดไม่เป็นไปตามปกติ หัวใจต้องทำงานหนักมากขึ้น ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้สูง





2.6) โรคอ้วน ความอ้วนแสดงถึงภาวะสุขภาพที่ไม่ดี เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ โดยน้ำหนักตัวที่มากเกินไปจะเพิ่มภาระให้กับหัวใจ ทำให้หัวใจต้องทำงานหนักมากขึ้น และนอกจากนี้พบว่าความอ้วนมีผลทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ และเอช ดี แอล โคเลสเตอรอลต่ำ แต่ แอล ดี แอล โคเลสเตอรอลสูง จึงทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจมาก


2.7) การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และคาเฟอีน ในคนที่ดื่มสุราจัดเป็นประจำจะทำให้เกิดโรคหัวใจได้มากกว่าคนที่ดื่มน้อยกว่า หรือคนที่ไม่ดื่มสุราเลย เนื่องจากแอลกอฮอล์จะทำให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ และยังอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อกล้ามเนื้อหัวใจด้วย โดยพบว่าผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสมมากกว่า 12 ดีกรีเป็นประจำมากกว่า 60 ซีซีต่อวัน จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจมากกว่าผู้ที่ดื่มน้อยกว่าถึง 4 เท่า และผู้ที่ดื่มกาแฟ 2-5 แก้วต่อวัน มีผลต่อการทำงานของหัวใจ และถ้าดื่มมากกว่านี้จะทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้








2.8) การขาดการออกกำลังกาย เนื่องจากการออกกำลังเป็นประจำนั้นจะช่วยให้สมรรถภาพของหัวใจดีขึ้น ลดระดับไขมันในเลือด ลดความดันโลหิต ดังนั้นการขาดการออกกำลังที่สม่ำเสมอจึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้มาก






























































































































































































































วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2552

แผนการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่
โรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่


1. โรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่ คืออะไร โรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่
หมายถึง โรคที่เกิดจากภาวะเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจมีการตีบหรือตันทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเกิดภาวะขาดเลือดไปเลี้ยง ถ้าเป็นรุนแรงก็จะเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายตามมา
บางคน เรียกว่า
“โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ”
บางคน เรียกว่า
“โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด”
บางคน เรียกว่า “โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย”
เป็นโรคเดียวกันนะค่ะ เพราะมีสาเหตุมาจากหลอดเลือดที่มาเลี้ยงหัวใจ
มีการตีบ ตัน หรือแข็งตัว ทำให้เลือดไปลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอค่ะ


2. ลักษณะของหลอดเลือดแดงโคโรนารี่
เส้นเลือดที่ไ
ปเลี้ยงหัวใจ เรียกว่า เส้นเลือดแดงโคโรนารี่ เป็นหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจ ทำหน้าที่ในการนำเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงหัวใจ มี 3 เส้นไปเลี้ยงหัวใจด้านขวา 1 เส้นและไปเลี้ยงหัวใจด้านซ้าย 2 เส้น โดยเส้นเลือดแดงโคโรนารี่ด้านขวา จะเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจด้านขวา และกล้ามเนื้อหัวใจด้านซ้ายส่วนล่าง ส่วนเส้นเลือดแดงโคโรนารี่ด้านซ้าย จะเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจด้านซ้ายที่เหลือทั้งหมด ซึ่งจะแตกออกเป็น 2 แขนง คือ แขนงที่มาด้านหน้า และแขนงที่อ้อมไปด้านหลัง



3. อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค
สาเหตุที่พบบ่อยที่สุด คือ การตีบ ตัน หรือแข็ง ของหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจที่เรียกว่า อะเทอโรสเคอโรซีส เกิดจากการมีไขมันมาพอกอยู่ที่ผนังหลอดเลือดด้านในซึ่งจะค่อยๆเริ่มก่อตัวขึ้น ทำให้รูของหลอดเลือดตีบแคบลงจนอุดตัน และแสดงอาการของการขาดเลือดมาเลี้ยงในที่สุด
4. การอุดตันของหลอดเลือดแดงมีผลกับหัวใจอย่างไร



หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจ เปรียบได้เหมือนท่อน้ำ ประปา เมื่อตะกรันมาเกาะ จะทำให้มีการอุดตัน เมื่อมี การสะสมมากขึ้นๆ การไหลของน้ำในท่อก็จะลดลง เช่นเดียวกับหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจ เมื่อมีไขมัน มาเกาะตัวในหลอดเลือดมากขึ้นๆ เรื่อยๆ เลือดที่จะไป เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจก็ลดลง เมื่อมีการอุดตันบริเวณไหน กล้ามเนื้อหัวใจบริเวณนั้นก็ได้รับเลือดลดลง เกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขเมื่อเวลาผ่านไป ก็กลายเป็น “กล้ามเนื้อหัวใจตาย” ได้

5.อาการ และอาการแสดงของโรคเป็นอย่างไร
ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมาพบแพทย์ด้วย อาการเจ็บหน้าอก โดยจะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกตรงกลางร้าวไปไหล่ซ้ายและแขนซ้าย บางรายมีปวดร้าวขึ้นไปตามคอ อาการเจ็บหน้าอกจะเป็นมากขึ้นเวลาออกแรง เมื่อนั่งพักจะดีขึ้น ในรายที่มีเส้นเลือดหัวใจตีบมากจนตัน จะทำให้มีการขาดเลือดอย่างรุนแรงของกล้ามเนื้อหัวใจ จนเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายในที่สุด ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกรุนแรง กระสับกระส่าย เหงื่อออก ตัวเย็น ถ้านำส่งโรงพยาบาลไม่ทันก็อาจเสียชีวิตได้



6.แนวทางการรักษาโรคนี้มีอะไรบ้าง
ปัจจุบันมีการรักษาหลายวิธี ดังนี้


1) การรักษาโดยใช้ยา เป็นวิธีการรักษาหลักใน รายที่เป็นไม่มาก หรือช่วยลดอาการแน่นหน้าอกหรือเหนื่อยหอบ อาจใช้เป็นวิธีการรักษาเดี่ยวๆ หรือใช้ร่วมกับการรักษาด้วยวิธีอื่น กลุ่มยาที่ใช้ในการรักษาโรคนี้มีหลายกลุ่ม ที่สำคัญได้แก่ ยาขยายหลอดเลือด ยาลดความดัน ยาละลายลิ่มเลือด ยาต้านการเกาะกลุ่มของเกร็ดเลือด และยาลดไขมัน ซึ่งจะกล่าวโดยละเอียดในเรื่อง “ยาที่ใช้ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ”



2) การรักษาโดยการสวนหัวใจทำบอลลูนขยายเส้นเลือด และการใส่โครงลวดตาข่ายเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่ ที่พบว่าสามารถลดอัตราการตาย และลดอัตราการเกิดโรคซ้ำ ได้ดีโดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากหัวใจ






3) รักษาโดยการผ่าตัดต่อเส้นเลือดหัวใจทำทางเบี่ยงหัวใจ วิธีนี้นิยมใช้มาก
ในปัจจุบัน เนื่องจากพบว่าผู้ป่วยร้อยละ 98 สามารถกลับมาใช้ชีวิต
ได้อย่างปกติโดยไม่มีอาการเจ็บหน้าอก












THANK YOU